7 pra-jan-barn (2002) 7 ประจัญบาน
หลังจากร่วมฟันฝ่าอุปสรรคอันแสนสาหัส กินลูกตะกั่ว คั่วดินปืน คลุกข้าวต่างน้ำมาด้วยกัน หลายต่อหลายครั้ง รวมทั้งได้โอกาสที่จะสละเลือดเนื้อ ไปกับภารกิจรบ จนแทบจะต้องพลีชีพเพื่อชาติมาก็หลายครา แต่ไม่มีภารกิจครั้งไหน จะหล่อหลอมเหล่าผองเพื่อนชายไทย จนถึงขั้นผูกจิตผูกใจชายหนุ่ม 7 คน ที่แตกต่างกันด้วยวุฒิภาวะ คุณลักษณะ หรือที่เรียกว่ารูปร่างหน้าตา ไปจนถึง 2 วุฒิ นั่นคือคุณวุฒิและวัยวุฒิ ให้ร่วมสมัครสมานกลมเกลียว เกี่ยวก้อยสาบาน จนกลายเป็นพี่น้อง ที่ไม่ได้คลานออกมาจากท้องพ่อท้องแม่เดียวกันได้ เท่ากับการที่พวกเขาเป็นตัวแทนผืนแผ่นดินไทย ออกร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่หนีบจักแร้กันและกัน ต่อสู้กับเหล่าอริผองภัย ที่มารุกรานชาติไทยในสงครามเวียดนามหรอกหลังจากที่เสร็จสิ้นภารกิจรบเพื่อชาติ เหล่าผองเพื่อนทั้ง 7 หรือที่รู้จักกันดีในนามของ 7 ประจัญบาน คือ จ่าดับ จำเปาะ (พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง), หมัด เชิงมวย (เท่ง เถิดเทิง), ตังกวย แซ่ลี้ (ทศพล ศิริวิวัฒน์), อัคคี เมฆยันตุ์ (อัมรินทร์ นิติพน), ดั่น มหิทธา (พิเศก อินทรครรชิต), กล้า ตะลุมพุก (แช่ม แช่มรัมย์), จุก เบี้ยวสกุล (ค่อม ชวนชื่น) ก็ต่างแยกย้ายกันไปตามแดนดินถิ่นมาตุภูมิ ที่ต่างถือกำเนิดกันไป กลับไปหาเหล่าผู้คนที่อยู่ข้างหลัง ที่คอยเป็นกำลังใจ รอคอยวีรบุรุษในใจของพวกเขามาตลอดชีวิต บ้างก็ได้ดิบได้ดี บ้างก็ยังคงวนเวียนไป ตามวัฏจักรแห่งการดิ้นรนต่อสู้ เพียงทว่าครานี้ ไม่ได้รบราฆ่าฟันกับผู้คนต่างชาติ ที่เคยมารุกรานอีกต่อไป แต่เป็นการดิ้นรนต่อสู้กับบางสิ่ง ที่สถิตย์อยู่ภายในจิตใจของตนเองต่างหากสำหรับคนที่ชีวิตวนเวียนอยู่ในสังเวียนแห่งการต่อสู้อย่าง หมัด เชิงมวย ถ้าเลิกรบแล้วจะทำอะไร เป็นคำถามที่ประจัญบานหนุ่ม ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการชกมวยอย่าง หมัด เชิงมวย เองก็ไม่สามารถหาคำตอบให้กับตัวเองได้ สิ่งเดียวที่ยังพอทำได้ก็คือ การใช้ฝีมือชั้นเชิงในการชกมวยหากิน ที่พึ่งเดียวที่หมัดนึกได้ก็คือ ค่ายมวยของ สงวน (สุเทพ ประยูรพิทักษ์) พี่ชายของหมัด ถึงแม้ว่าคราครั้งก่อน ที่พี่น้องคู่นี้ได้ร่วมวงศ์ไพบูลย์กัน จะส่งผลให้สงวนถึงกับต้องเสียขาไป 1 ข้าง จากการเดิมพันวางแผนล้มมวย